Smile & Smart Clinic

ระบบดูแลและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา

Smile & Smart Clinic
ระบบดูแลและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

image01

แนะนำคลินิก

“Smile & Smart Clinic” พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของคณาจารย์ บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องจากสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งหวังให้เกิดระบบดูแล ช่วยเหลือ และพัฒนานักศึกษาพยาบาลให้มีสมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์
มีคุณลักษณะตาม WU NURSE มีทักษะของการเป็นเยาวชนในศตวรรษที่ 21 สามารถดำเนินชีวิต
รวมทั้งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขเต็มศักยภาพ

กิจกรรมของ SMILE & SMART CLINIC ประกอบด้วย 5 คลินิกย่อย
service 1

คลินิกจิตบำบัด

ดูแลช่วยเหลือด้านการปรับตัว ภาวะสุขภาพจิตและจิตเวช การส่งต่อ
และการดูแลต่อเนื่อง

service 1

คลินิกพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนรู้

2.1 วางแผนการเรียนสู่ความสำเร็จ
2.2 การคิดอย่างมีเหตุผลเชิงคลินิก (Clinical Reasoning)
2.3 แผนที่แนวคิด (Conceptual Mapping)
2.4 ฟัง อ่าน เขียน และการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
2.5 พัฒนาภาษาอังกฤษ: I Love English

service 1

คลินิกพัฒนาภาวะผู้นำ

นักศึกษาพยาบาลสู่การเป็นเยาวชนนักกิจกรรม (Youth Activist)

service 2

คลินิกบุคลิกภาพ-สมบัติผู้ดี

 

service 3

คลินิกทุนการศึกษาและทุนทำงานพิเศษ

 

คลินิก

กิจกรรมของ SMILE & SMART CLINIC ประกอบด้วย 5 คลินิกย่อย

 

 

team 1

รศ.ดร.วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์

ที่ปรึกษาโครงการ
 

คณบดีสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์

team 1

รศ.ดร.สายฝน เอกวรางกูร

ประธานโครงการ 

อาจารย์

team 1

นางรัตนากร บุญกลาง

ผู้ประสานงานโครงการ:

เจ้าหน้าที่ธุรการ

บริการวิชาการ : กิจกรรมของคลินิก

-วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 สถานที่ห้องประชุม 1 อาคารวิจัย เรื่องการอบรมเชิงปฏิบัติการครูมืออาชีพกับการดูแลใจผู้เรียน ผู้เข้ารับการอบรม คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนวัดทางขึ้น โรงเรียนวัดเทวดาราม และโรงเรียนบ้านสะพานหัน จำนวน 41 คน


-วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 สถานที่ห้องประชุม 1 อาคารวิจัย เรื่องการอบรมเชิงปฏิบัติการครูมืออาชีพกับการดูแลใจผู้เรียน ผู้เข้ารับการอบรม คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนชุมชนใหม่ และโรงเรียนบ้านทุ่งชน จำนวน 33 คน


-วันที่ 11-12 มีนาคม 2560 สถานที่ห้องประชุม 1 อาคารวิจัย เรื่องการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนา MASTER TRAINERS (MT) ของโครงการครูมืออาชีพกับการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์สำหรับผู้เรียน ผู้เข้ารับการอบรม คือ คณาจารย์จาก 10 สำนักวิชาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จำนวน 32 คน ผู้สนใจภายนอกจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณจำนวน 2 คน และศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4 จำนวน 1 คน รวม 35 คน ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาปี พ.ศ. 2560


-วันที่ 13-14 มีนาคม 2560 สถานที่ห้องประชุม 1 อาคารวิจัย เรื่องการอบรมเชิงปฏิบัติการครูมืออาชีพกับการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์สำหรับผู้เรียน ผู้เข้ารับการอบรม คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนชุมชนใหม่ และโรงเรียนบ้านทุ่งชน จำนวน 33 คน ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาปี พ.ศ. 2560


-วันที่ 15-16 มีนาคม 2560 สถานที่ห้องประชุม 1 อาคารวิจัย เรื่องการอบรมเชิงปฏิบัติการครูมืออาชีพกับการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์สำหรับผู้เรียน ผู้เข้ารับการอบรม คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนวัดทางขึ้น โรงเรียนวัดเทวดาราม และโรงเรียนบ้านสะพานหัน จำนวน 41 คน ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาปี พ.ศ. 2560


-วันที่ 18 สิงหาคม 2560 สถานที่ห้องประชุมโรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ เรื่องการอบรมเชิงปฏิบัติการครูกับการดูแลใจผู้เรียน ผู้เข้ารับการอบรม คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ จำนวน 30 คน


-วันที่ 18 มีนาคม 2560 สถานที่ห้องประชุมสวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่องการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเยาวชนนักกิจกรรม (Youth Activist) เพื่อเป็นวิทยากรหลักสูตรการใช้ภาษารัก (love language) ของเด็กและเยาวชนเพื่อดูแลใจผู้สูงอายุในชุมชน ผู้เข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาตนเองให้มีภาวะผู้นำและมีสมรรถนะในการเป็นวิทยากรคือนักศึกษาพยาบาล สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 38 คน


-วันที่ 23 กันยายน 2560 สถานที่โรงเรียนบ้านสะพานหัน เรื่องการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนดูแลใจผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน วิทยากรเป็น Junior Master Trainers จากนักศึกษาสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ ผู้เข้ารับการอบรมคือนักเรียนโรงเรียนบ้านสะพานหัน จำนวน 30 คน


-วันที่ 24 กันยายน 2560 สถานที่โรงเรียนวัดทางขึ้น เรื่องการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนดูแลใจผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน วิทยากรเป็น Junior Master Trainers จากนักศึกษาสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ ผู้เข้ารับการอบรมคือนักเรียนโรงเรียนวัดทางขึ้น จำนวน 50 คน

ความคิดเห็น

"ไม่เคยคิดว่าจะมีคนเห็นใจเข้าใจ ขอบคุณที่เป็นแสง เห็นใจ และช่วยเหลือในเวลาที่หนูตกอยู่ในหลุมดำที่มืดที่สุด"

client 1 A024 ผู้รับการบำบัด

"ผมทำร้ายตัวเองมาตลอด ชอบคาดหวัง กดดัน ไม่เคยเมตตาตัวเอง ขอบคุณที่ช่วยให้ผมดูแลใจตัวเองเป็น"

client 2 A074 ผู้รับการบำบัด

"ใจมันไม่หนักอีกต่อไป มันโล่งขึ้น ปลดปล่อยตัวเองได้ ชีวิตมีความหมายขึ้น ไม่คิดอยากตาย อยากเรียนให้จบ"

client 3 A044 ผู้รับการบำบัด

หลักสูตรการอบรมของคลินิก

ครูมืออาชีพกับการดูแลใจเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้และการใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขสำหรับผู้เรียน

การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลเชิงคลินิก (Clinical Reasoning)

การพัฒนาเด็กและเยาวชนใช้ภาษารัก (Love Language) เพื่อดูแลใจผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชนโดย Junior Master Trainers

    .

We Offer Custom Plans. Contact Us For More Info.

Contact Us

ผลงานวิชาการ

ผลงานวิจัยของคลินิก

  • สายฝน เอกวรางกูร นัยนา หนูนิล อรทัย นนทเภท และอุษา น่วมเพชร. การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน. ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสารพยาบาล ปีที่ 67 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2561.
  • สายฝน เอกวรางกูร นัยนา หนูนิล เรวดี เพชรศิราสัณห์ อุษา น่วมเพชร และเจนเนตร พลเพชร. การรับรู้และความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการคัดกรองภาวะซึมเศร้าสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสารพยาบาล ปีที่ 66 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2560.
  • สายฝน เอกวรางกูร รวมพร คงกำเนิด ศิริอร สินธุ และลักษมล ลักษณะวิมล. (2559). บริการสุขภาพทางเพศสำหรับเยาวชน: สถานการณ์ ความท้าทาย และแนวทางการดำเนินการ. วารสารพยาบาล, 65(4), 16-23.
  • สายฝน เอกวรางกูร กำไล สมรักษ์ และนัยนา หนูนิล. (2558). กระบวนการมีส่วนร่วมพัฒนาสถานศึกษา ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศสำหรับเยาวชนในโรงเรียน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาล, 64(4), 35-42.
  • สายฝน เอกวรางกูร และนัยนา หนูนิล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการคิดวิเคราะห์กับพฤติกรรมเสี่ยง ทางเพศของวัยรุ่น. วารสารพยาบาล, 62(4), 27-34.
  • สายฝน เอกวรางกูร และนัยนา หนูนิล. (2556). กระบวนการมีส่วนร่วมสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศด้วยการพัฒนาต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชน ภาคใต้ตอนบน. วารสารเกื้อการุณย์, 20(1), 103-118.
  • Oakley, L. D., Aekwarangkoon, S., & Ward, E. C. (2011). Successful holistic management of type 2 diabetes with depression: A very personal story. Holistic Nursing Practice, 25(2), 88-96.

บทความวิชาการ

  • สายฝน เอกวรางกูร และอุบุญรัตน์ ธุรีราช. (2556). การบูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การติดตามสนับสนุน และการพัฒนาเชิงบวกกับการพัฒนาสมรรถนะและความภาคภูมิใจในวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารเกื้อการุณย์, 20(2), 5-15.
  • สายฝน เอกวรางกูร. (2556). พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเยาวชน. วารสารเกื้อการุณย์, 20(2), 16-26.

หนังสือ
สายฝน เอกวรางกูร และคณะ. (2559). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต: ศาสตร์และศิลป์สู่การปฏิบัติ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครศรีธรรมราช: ไทม์ พริ้นติ้ง.
สายฝน เอกวรางกูร และคณะ. (2559). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต: ศาสตร์และศิลป์สู่การปฏิบัติ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครศรีธรรมราช: ไทม์ พริ้นติ้ง.
สายฝน เอกวรางกูร. (2554). รู้จัก เข้าใจ ดูแลภาวะซึมเศร้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ติดต่อเรา

อาคารวิชาการ 2 สำนักพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Loading map...

นัดหมายเรา

Please enter name.
Please enter valid email adress.
Please enter your comment.

สมาชิกเครือข่าย