Displaying 1-10 of 69 results.
IDชื่อนวัตกรรมว/ด/ปสถานการณ์หรือปัญหาที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมกระบวนการนวัตกรรมผลลัพธ์/การนำไปใช้ 
1ถุงเท้ากันน้ำ ป้องกันการติดเชื้อของแผลในผู้ป่วยเบาหวาน2563-10-31จากการศึกษาค้นคว้างานวิชาการที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าส่วนใหญ่มีการติดเชื้อจนส่งผลให้มีการตัดขาตามมา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการดูแลแผลที่ไม่เหมาะสม และจากการได้ลงฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนในหมู่ 11 ต.โมคลาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช1. ประชุมวางแผน หารือแนวทางการดำเนินการ 2. ประสานผู้นำชุมชนในการทำเวทีประชาคมผู้ป่วยเบาหวานทุคนที่ยังไม่เกิดแผลที่เท้าใช้นวัตกรรมถุงเท้ากันน้ำแล้วไม่เกิดแผลที่เท้า ผู้เข้าร่วมโครงงานมีความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมในการดูแลเท้าเพื่อป้องกันแผลและ แผลติดเชื้อ ร้อยละ 100View
2แผ่นรองรับน้ำจากการสระผมผู้ป่วยบนเตียง2563-10-31เพื่อแก้ไข ปัญหาภาระงานของพยาบาล ลดระยะเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้น้อยลงเพิ่มความสะดวกในการสระผมให้ผู้ป่วย ลดการใช้เวลาในการเตรียมอุปกรณ์ และ เพื่อความสุขสบายของผู้ป่วย1. การสำรวจปัญหาและอุบัติการที่เกิดขึ้น สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2. วางแผนรูปแบบจัดทำนวัตกรรม 3. จัดซื้ออุปกรณ์ในการทำนวัตกรรม จัดทำนวัตกรรม 4. นำนวัตกรรมไปทดลองใช้และปรับปรุง 5. ประเมินคุณภาพของนวัตกรรม 6. ประเมินความพึงพอใจของการใช้นวัตกรรม1. ลดความซับซ้อนในการจัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดหนังศรีษะผู้ป่วยได้ดีมาก 2. เพิ่มความสะดวกในการทำความสะอาดหนังศรีษะผู้ป่วย 3. ลดอุบัติเหตุระหว่างการสระผมดีมาก 4. ลดระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนในการสระผมดีมาก 5. ญาติผู้ป่วย พยาบาลพึงพอใจต่อนวัตกรรมดีมากView
3โปรแกรมการป้องกันไข้เลือดออกบ้านทุ่งชน " 3ท 3 ป พิชิตไข้เลือดออก"2563-10-31ทางคณะผู้จัดทำโครงงานจึงเห็นถึงความสำคัญมาตรการป้องกันและควบคุมโรคจึงเกิดนวัตกรรม เพื่อกำจัดแหล่งพพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยอ้างอิงตามบริบทของพื้นที่ที่ได้ลงสำรวจ จึงเกิดนวัตกรรม “ โปรแกรมการป้องกันไข้เลือดออกบ้านทุ่งชน ” ขึ้นกิจกรรมขั้นวางแผน (Plan) กิจกรรมขั้นการดำเนินการ (DO) กิจกรรมประเมินผล (Check) แนวทางการนำผลการประเมินมาพัฒนา (Act)ข้อที่1: เกิดนวัตกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก ผลการประเมิน: เกิดนวัตกรรม “โปรแกรมการป้องกันไข้เลือดออกบ้านทุ่งชน” ข้อที่2: เกิดประสิทธิผลในการใช้ “โปรแกรมการป้องกันไข้เลือดออกบ้านทุ่งชน” ร้อยละ 80 ผลการประเมิน: เกิดประสิทธิผลในการใช้ “โปรแกรมการป้องกันไข้เลือดออกบ้านทุ่งชน” ข้อที่3: เกิดความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมในระดับมากที่สุดร้อยละ 80 ผลการประเมิน:เกิดความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมในระดับมากที่สุดร้อยละ 80 View
4Green bean ประคบร้อน ผ่อนคลาย สลายปวด2563-11-11จากการลงสำรวจข้อมูลของชุมชนลุ่มนา หมู่ที่ 8 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ประชาชนในพื้นที่มีอาการปวดเมื่อยร้อยละ 2.83 ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากท่าทางการประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะสม และส่วนใหญ่เป็นผู้สุงอายุที่มีอาการปวดเมื่อยตามวัย จากเหตุผลดังกล่าวนักศึกษาจึงได้พัฒนานวัตกรรม “Green bean ประคบร้อน ผ่อนคลาย สลายปวด” ขึ้น โดยเน้นการนวด ประคบร้อนเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ร่วมกับการใช้กลิ่นบำบัดกดจุด และยังเพิ่มความสะดวกต่อการใช้ โดยผู้ป่วยสามารถใช้ชิ้นงานบรรเทาอาการปวดเมื่อยในขณะปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆได้ สามารถใช้ได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ผลิตได้ง่ายเนื่องจากเน้นการใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่มีในท้องถิ่น รวมถึงลดข้อจำกัดในการใช้อุปกรณ์นำความร้อนจากการใช้เตาอบไมโครเวฟเพียงอย่างเดียว มาเป็นการคั่วเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงของคนในชุมชนตามไฟล์ที่แนบปัจจัยความสําเร็จ ปัญหา/อุปสรรค พร้อมแนวทางแก้ไข ปัจจัยความสำเร็จ คือ ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในกลุ่มในการทำชิ้นงาน และคำแนะนำในการปรับปรุงนวัตกรรมจากกลุ่มเป้าหมาย ปัญหา/อุปสรรค คือ สภาพอากาศไม่อำนวย ระยะเวลาในการทำชิ้นงาน การนำไปใช้ และการพัฒนาชิ้นงานไม่ต่อเนื่องกัน การแก้ไข กระชับเวลาในการทำกิจกรรม ผลการประเมินจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้นวัตกรรมบรรเทาอาการปวดเมื่อย - เจ้าหน้าที่ “ใช้แล้วรู้สึกอุปกรณ์หาง่าย ทำได้สะดวก สามารถใช้ได้จริง ๆ อาการปวดลดลง” - กลุ่มเป้าหมาย “รู้สึกผ่อนคลาย สบาย รู้ปวดเมื่อยลดน้อยลง” “รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ใช้แล้วทำกิจวัตรประจำวันได้” “ใส่แล้วทำงานได้ ความร้อนกำลังอุ่นพอดี” View
5เบาะขนมปัง กดจุดบรรเทาปวด2563-10-11จากการทบทวนวรรณกรรม จึงพบเห็นปัญหาที่สำคัญของผู้สูงอายุอย่างหนึ่งคือปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ที่อาจเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การทำงานและระบบต่างๆเสื่อมประสิทธิภาพลง การทำงานหนัก หรือการยกของหนัก ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดมเอยกล้ามเนื้อ และจากภาวะดังกล่าวที่เกิดจากความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ที่เกิดขึ้นได้ทุกกลุ่มอายุและกลุ่มวัย อาจส่งผลให้เกิดผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจ และด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน มีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป ทำให้มีอาการชาหรืออ่อนแรงของขา และอาจสงผลตอภาวะจิตใจ กอใหเกิดภาวะเครียด หงุดหงิดจากอาการปวด และอาจกอใหเกิดโรคเรื้อรังที่จะตามมาจากอาการปวดหลังได้ ดังนั้นทางกลุ่มจึงได้คิดค้นนวัตกรรมที่มีเชื่อว่า “เบาะขนมปัง กดจุดบรรเทาปวด”ตามไฟล์ที่แนบ1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อลดลงภายใน 2 สัปดาห์ ประสิทธิผล = ผลการปฏิบัติจริง x 100 / เป้าหมาย = 100 x 100 / 80 = 125 % 2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมในระดับดีขึ้นไป ประสิทธิผล = ผลการปฏิบัติจริง x 100 / เป้าหมาย = 100 x 100 / 80 = 125 % View
6อุปกรณ์ช่วยผู้ดูแลพลิกตะแคงตัวในผู้ป่วยติดตียงในเขต ตำบลดอนตะโกอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช2563-11-011. เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียงหลังจากใช้อุปกรณ์ช่วยพลิกตะแคงตัว 2. เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ให้เกิดแผลกดทับ หลังใช้นวัตกรรม 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลในการใช้อุปกรณ์ช่วยผู้ดูแลพลิกตะแคงตัวในผู้ป่วยที่นอนติดเตียงหลังจากใช้อุปกรณ์ 4. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยติดเตียงในการใช้อุปกรณ์ช่วยผู้ดูแลพลิกตะแคงตัวในผู้ป่วยที่นอนติดเตียงหลังจากใช้อุปกรณ์ 1. ศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ช่วยพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยติดเตียง และอุปกรณ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ 2. นำเสนอวรรณกรรมที่ทำการศึกษา 3. ออกแบบนวัตกรรมช่วยพลิกตะแคงตัว และออกแบบชื่อนวัตกรรมเพื่อค้นหาทุนและวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในการออกแบบนวัตกรรม 4. นำเสนอแก่อาจารย์ประจำกลุ่ม เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงเพิ่มเติม .1 ผลการประเมินความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม อุปกรณ์ช่วยผู้ดูแลพลิกตะแคงตัวในผู้ป่วยติดเตียง ก่อน–หลังใช้นวัตกรรม - ก่อนให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมอุปกรณ์ช่วยผู้ดูแลพลิกตะแคงตัวในผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลทำแบบทดสอบได้คะแนน 7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ70 - หลังให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมอุปกรณ์ช่วยผู้ดูแลพลิกตะแคงตัวในผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลทำแบบทดสอบได้คะแนน 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 90 4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรม จากผู้ใช้งานจำนวน 1 คน พบว่า - พึงพอใจขนาด ลักษณะ ความสวยงาม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในระดับมากที่สุด - พึงพอใจความทนทานใช้งานได้ต่อเนื่องในระดับมากที่สุด - พึงพอใจนวัตกรรมสามารถช่วยเหลือและลดแรงในขณะพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยได้ในระดับมาก - พึงพอใจนวัตกรรมเหมาะสมต่อการใช้งานผู้ป่วยติดเตียงในระดับมากที่สุด - พึงพอใจในภาพรวมนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นในระดับมาก View
7อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้อแข็งแรงด้วยตัวเอง2563-11-11เนื่องจากร่างกายของผู้สูงอายุจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมสภาพตามวัย กล่าวคือ กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบเนื่องจากขาดการใช้งาน กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากความแข็งแรงและความทนของกล้ามเนื้อลดลง ทำให้มีโอกาสลื่นหรือสะดุดได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญในการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ นอกจากนี้พบว่าการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเป็นสาเหตุที่สำคัญในการเพิ่มความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม (ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, 2562.) หากเกิดการพลัดตกหกล้ม จะได้รับบาดเจ็บและการรักษาที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนานมากกว่าวัยอื่น ๆ ดังนั้นจึงได้คิดค้นและจัดทำนวัตกรรม “อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้อแข็งแรงด้วยตัวเอง (Muscle strong by myself)” ช่วยในการกระดกเท้าขึ้น-ลง ทำให้กล้ามเนื้อที่มีหน้าที่กระดกขึ้น ได้แก่ tibialis anterior, extensor hallucis longus ,extensor digitorum longus, peroneus tertius และกล้ามเนื้อที่มีหน้าที่กดปลายเท้าลง ได้แก่ peroneus longus, peroneus brevis, gastrocnemius, soleus, plantaris มีความแข็งแรงมากขึ้น ส่งผลให้ลดความเสี่ยงการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ โดยนวัตกรรมสามารถทำให้กระดกเท้าขึ้น-ลงได้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการยืดและหดกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยในการใช้งาน ประหยัดค่าใช้จ่ายได้โดยการนำเอาวัสดุอุปกรณ์ที่มีต้นทุนต่ำมาใช้โดยใช้กระบวนการ Plan Do Check Action - ตามไฟล์ที่แนบประเมินด้านประสิทธิผล (Effectiveness) 1.1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 1.2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายไม่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 80 1.3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการใช้นวัตกรรม อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน ในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ร้อยละ 80 1.4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจนวัตกรรมที่ทางกลุ่มได้จัดทำขึ้น ร้อยละ 80 ประเมินด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิภาพ เนื่องจากผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ มีการใช้งบประมาณทั้งหมด 1,000 บาท จากงบประมาณที่ได้ 1,000 บาท และผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ 100View
8กระเป๋ากันลืม2563-11-11จากการศึกษาพบว่า การใช้รูปแบบการติดตามการกินยาของผู้สูงอายุโรคเบาหวานด้วย “ปฏิทินยา เบาหวาน” ทำให้ผู้สูงอายุ สามารถรับประทานยาได้ถูกต้อง คือ ถูกขนาด ถูกเวลา ได้รับยาครบตามแผนการ รักษาของแพทย์ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ปฏิทินยาเบาหวาน มีความพึงพอใจในระดับมาก ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91 อย่างไรก็ตาม ปฏิทินยาเบาหวานยังมีข้อเสนอแนะที่สามารถนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นดังนี้ โดยนำ ตัวเลขและสัญลักษณ์รูปภาพใหม่ พร้อมขนาดตัวอักษรที่ใหญ่ขึ้น แสดงมื้อของการรับประทานยาของผู้ป่วย (เช้า- กลางวัน-เย็น-ก่อนนอน) มาปรับใช้บนฉลากยา เพิ่มความเข้าใจมากยิ่งขึ้น และเลือกใช้สีพื้นหลัง ฉลากยาให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นทางคณะผู้จัดทำจึงเห็นความสำคัญของการรับประทานอย่างมีประสิทธิภาพ คือตรงตามแผนการรักษา จึง ได้คิดค้นนวัตกรรม กระเป๋ายากันลืม เพื่อให้การรับประทานยาโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนการดำเนินงาน PDCA - ตามไฟล์ที่แนบตามไฟล์ที่แนบView
9แผ่นรองเท้าลดแรงกดทับบริเวณแผลที่ผ่าเท้า2563-11-01จากการทบทวนวรรณกรรมโดยนำแนวคิดการลดแรงกดแผลเท้าเบาหวานโดยการใช้ฟองน้ำล้างจานของอาจารย์ชยพล ศิรินิยมชัย เห็นได้ว่าฟองน้ำมีส่วนช่วยในการหายของแผล และจากงานวิจัยของวีณา ศรีสำราญ พบว่าการใช้หลักการลดแรงกดที่แผล ทำให้แผลไม่รับน้ำหนักขณะเดินหรือการทำให้แผลทำให้แผลลอยพ้นพื้นขณะเดินโดยเว้นช่องบริเวณแผลจากการเจาะรู ทำให้แผลมีโอกาสฟื้นตัว การใส่รองเท้าลดแรงกดที่หาได้ง่าย ขั้นตอนการเจาะรูไม่ยุ่งยาก สามารถใช้ได้ง่าย สะดวก และมีราคาถูก ซึ่งวัสดุเหล่านี้จะช่วยให้แผลไม่ถูกกดทับและนำไปสู่การหายของแผล (วีณา ศรีสำราญ, 2557) ทางกลุ่มจึงได้เลือกใช้ฟองน้ำและโฟมมาเป็นวัสดุในการลดแรงกดทับบริเวณแผลที่ฝ่าเท้าตามไฟล์ที่แนบตามไฟล์ที่แนบView
10นาฬิกากันลืม2563-11-23ทางกลุ่มได้มีการลงสำรวจโดยการสัมภาษณ์จำนวน 11 คนที่ รพ.สต. บ้านทุ่งโหนด รพ.สต. หัวเหมืองทะเล รพ.ต.ปากพูน โรงพยาบาลเทศบาลนครศรีธรรมราช และได้มีการลงสำรวจในหมู่บ้านคลองเกราะ ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา จำนวน 93 ครัวเรือน พบจำนวนผู้ป่วยเรื้อรังที่ใช้ยา จำนวน 50 คน ได้แก่ ชาย 12 คน หญิง 38 คน อายุ 0-18 ปี ใช้ยา ร้อยละ 4 , 19-45 ปี ร้อยละ 2 , 46-59 ปี ร้อยละ 22 , 60-69 ปี ร้อยละ 30 , 70-79 ปี ร้อยละ 38 และมากกว่า 80 ปี ร้อยละ 4 ผู้ป่วยที่สามารถอ่านหนังสือได้ ร้อยละ 96 ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ ร้อยละ 4 ส่วนใหญ่รับยาที่โรงพยาบาลท่าศาลา ร้อยละ 68 ส่วนใหญ่ใช้ยา 1-2 ชนิด ร้อยละ 52 กินยาตรงเวลา ร้อยละ 84 หยุดยาเอง ร้อยละ 12 ใช้ยาครบ ร้อยละ 88 จัดยาเองส่วนใหญ่ ร้อยละ 92 ซื้อยากินเอง ร้อยละ 36 ใช้ยาสมุนไพร ร้อยละ 26 และส่วนใหญ่ดูวันหมดอายุของยา ร้อยละ 70 รับประทานยาไม่ตรงเวลา ร้อยละ 16.0 รับประทานยาไม่ครบ ร้อยละ 22 จากการรับประทานยาไม่เหมาะสม ส่งผลให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังไม่สามารถควบคุมการดำเนินของโรคได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ หรืออาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ จากการศึกษาช่องว่างดังกล่าวทางกลุ่มได้คิดค้นนวัตกรรมที่มีชื่อว่า นาฬิกากันลืม (Medicines Clock) เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ยาถูกขนาด ถูกเวลา ถูกชนิด และถูกวิธี ประยุกต์ใช้แนวคิด Plan Do Check Act : PDCA) ของนวัตกรรม - ตามไฟล์ที่แนบ- ตามไฟล์ที่แนบView